วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Buddhist Lent วันเข้าพรรษา



             วันเข้าพรรษา ในปี ๒๕๕๖  นี้  ตรงกับวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๖




Buddhist Lent

The commencement of the three-month Buddhist Lent, Known among Thais
as Khao Phansa, traditionally falls on the first day of the waxing moon of the
eighth lunar month. During this period, coinciding with the rainy season,
Buddhist monks and novices remain closeted in their particular monasteries,
discouraged from spending nights elsewhere.

  

The custom of spending three months of the rainy season in a fixed place
 is a ritual successfully observed since the time of the Lord Buddha.
 In those day, however, villagers attributed young seedling damage
at the start of the planting season to unnecessary travel by monks.
Realizing that monks on pilgrimages could accidentally tread on
young plants, the Lord Buddha decreedthat his followers spend
three months of the rainy season in permanent dwellings. 


วันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ทั้งที่บวชใหม่และบวชมาหลายพรรษา 
 อธิษฐานว่าจะประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งตลอดระยะเวลา 3 เดือน
ในฤดูฝน โดยไม่เดินทางไปแรมคืนที่อื่น

เหตุที่พระพุทธองค์อนุญาตให้มีการจำพรรษา เนื่องจากในสมัยพุทธกาล 
 ชาวบ้านติเตียนว่าพวกสาวกพระพุทธองค์ไม่หยุดสัญจรแม้ ในฤดูฝน
พากันเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืชผลซึ่งชาวบ้านเพิ่งลงมื อไถหว่าน ตลอดจน
ทำร้ายสัตว์น้อยจนถึงแก่ความตายบ้าง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ
 จึงวางระเบียบให้ภิกษุเข้าประจำที่ตลอด 3 เดือน
ในฤดูฝนหรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เข้าพรรษา

          
In cases of necessity, such as taking care of sick monks or parents or
 conducting religious functions, monks may travel and stay away from
 their monasteries during this period. However, they are required to
 return within seven days.

เมื่อพระภิกษุสงฆ์อธิษฐานเข้าพรรษาแล้ว จะไปค้างแรมที่อื่นนอกเหนือจากอาวาส
ที่ตนอธิษฐานเข้าพรรษาแม้แต่คืนเดียวก้ไม่ได้ยกเว้นมีกิจจำเป็นซึ่งพระวินัยอนุญาต
 แต่ต้องกลับมาภายใน 7 วัน

To observe Buddhist Lent, Buddhists usually perform merit making, giving alms 
to monks, attending sermons and participating in candlelight processions, 
They also strictly observe Buddhist ethics, especially on holy days.


เหตุจำเป็นที่ยกเว้นได้แก่ ไปพยาบาลพระภิกษุหรือบิดามารดาที่ป่วย ไประงับไม่ให้
พระภิกษุสึกไปเพื่อธุรกิจสงฆ์และทายกนิมนต์ไปฉลองศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลของเขา

During the three-month annul “rain retreat,” monks study more and teach those
 who have chosen this period to enter monkhood. Laymen usually visit temples 
to offer monks food, clothing, medicine, flower, joss sticks, Lenten candles and 
other offerings. Such practices they consider highly meritorious.


จากการนี้ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หรือวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญ
ทางพระพุทธศาสนาเพื่อน้ อมรำลึกถึงพระองค์ในวันนี้ ชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร เวียนเทียน
รอบพระอุโบสถ เข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมรักษาศีลภาวนา ทำความดี ละเว้นความชั่ว 
โดยเฉพาะในวันธรรมสวนะ มีการถือศีลอย่างเคร่งครัด


In ancient times, the number of flowers, joss sticks and small candles presented 
to a temple was usually equal to the number of monks in that temple. 
Where there were surplus candles, villagers tended to make numerous 
small candles into large one for presenting to temples. The large candles being 
stronger, with more light and longer lasting.

       

ในช่วงสามเดือนที่พระสงฆ์จำพรรษา จะต้องศึกษาพระธรรมอยู่ในวัด ประชาชน
จึงจัดถวายสิ่งของที่เรียกว่าจตุปัจจัย คืออาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย 
ดอกไม้ธูปเทียน  แก่ภิกษุสามเณร ก่อให้เกิดประเพณีถวายของเข้าพรรษา เช่น 
ผ้าอาบน้ำฝน ดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะบูชา ของรับประทานและเทียนพรรษา
ที่ชาวบ้านช่วยกันทำ ดอกไม้ ธูป เทียนของบุคคลใดได้นำเข้าไปใช้
ในพิธีทางพุทธศาสนาในวันนั้น บุคคลนั้นถือว่าได้รับอานิสงส์สูงส่งยิ่งนัก 
ดังนั้นดอกไม้ก็ดี ธูปเทียนก็ดี คนโบราณมักจัดทำเท่าจำนวนพระภิกษุในวัด
ที่จะไปทำบุญ โดยเทียนที่เตรียมไปเป็นเล่มเล็กๆ 
ครั้นหลายคนต่างพากันเอาเทียนมาถวาย
จำนวนเทียนก็มากเกินความต้องการ

               

Buddhists believe that offering candles to monks as a means of light will also
 brighten up their future. These candles are known as Thian Phansa.

To make the Buddhist Lent, a Candle Festival takes place in all parts of Thailand. 
In the northeastern region, especially Ubon Ratchathani Province, which celebrates
 its famous Buddhist Lenten Candle Procession each year, 
the festival takes place on a grand scale. 

 

 ต่อมา ชาวบ้านจึงมีมติร่วมกันว่า ควรหล่อเทียนรวมกันเป็นเล่มโต เพื่อสะดวกแก่การนำไปถวาย 
 เพราะจะช่วยป้องกันอัคคีภัยได้ด้วยเนื่องจากเทียนเล่มใหญ่มีความแข็งแรง 
 ให้แสงสว่างได้มากกว่าและยาวนานกว่าโดยมีความเชื่อด้วยว่า 
อานิสงส์ของการทำบุญด้วยเทียนซึ่งให้แสงสว่างแก่สาวก ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย จะทำให้ชีวิตของตนรุ่งโรจน์แจ่มใส
ดุจเดียวกับแสงแห่ง เปลวเทียน ประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงแพร่หลายไปทั่วประเทศ 
ที่ปรากฏเด่นชัดมากคือแถบภาคอิสานของไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดอุบลราชธานี


นอกจากการทำบุญด้วยเทียน ยังมีการทำบุญด้วยดอกไม้ที่เรียกว่าตักบาตรดอกไม้
ในจังหวัดสระบุรี ดอกไม้ที่ว่านี้มีชื่อว่า ดอกเข้าพรรษา ลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือต้นว่านขมิ้น 
มีสีเหลือง สีขาว สีน้ำเงินหรือสีน้ำเงินปนม่วง จะออกดอกสะพรั่งเฉพาะวันเข้าพรรษาเท่านั้น 
 เมื่อพุทธศาสนิกชนร่วมใส่บาตรดอกไม้แล้ว พระภิกษุจะเดินขึ้นสู่มณฑป เข้าไปนมัสการ
รอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นจะลงสู่พระอุโบสถต่อไป

ในช่วงนี้ ผู้คนต่างนำขันใส่น้ำลอยดอกพิกุลหอมกรุ่น มาคอยล้างเท้าพระภิกษุสงฆ์เหล่านั้น 
 ด้วยความเชื่อว่าเป็นการชำระบาปของตนที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไปด้วย


เมื่อพระภิกษุทะยอยเข้าสู่พระอุโบสถแล้วก็ทำพิธีปวาร ณาเข้าพรรษา เพื่อเปล่งวาจา
ขออยู่ในอาณาเขตที่จำกัดระหว่างช่วงฤดูกาลเข้าพรรษา 
ท่ามกลางรอยยิ้มและดวงหน้าอิ่มบุญของชาวพุทธถ้วนหน้า








วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Larva น้องหนอนหรรษา



Larva

                 

                              Larva Animation 3D 

             การ์ตูนหนอนน้อยฮาๆ  ขำขำกับหนอนคู่หูคู่ฮา

                    สนุกสนาน คลายเครียดได้ทั้งครอบครัว

        
                                       
                Larva เป็นการ์ตูนสั้นๆประมาณนาทีครึ่ง 

                 นำเสนอถึงเรื่องของเจ้าหนอนสองตัว 

            อาศัยอยู่ในท่อน้ำเล็กๆ ณ แห่งหนใดหนหนึ่ง 

   แต่ละตอนก็จะเป็นเรื่องราวชีวิตยุ่งๆ ของน้องหนอนสองตัว 

        ที่เรียกความสนุก ความฮา ชนิดเด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี 

      ถึงแม้จะแอบ แหยะๆ นิดหน่อยกับชีวิตเปรอะๆในท่อน้ำ

           แต่ก็น่าลองๆ พิสูจน์ดูว่าคลายเครียดได้ดีจริงๆ


              





                                           Larva

            Type : animation series (short film)
            Genre : comedy
         Release : 2011
         Production : Korean animation studio’s Tuba       

                               Entertainment and Synergy Media.
       YouTube channel : http://www.youtube.com  

            /show?p=6dcW0fp3_TQ&tracker=show_av







        
            

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

พิธีไหว้ครู ๒๕๕๖

     
     
      

            พิธีไหว้ครู


เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ

 แสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู 

การไหว้ครูเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง

 การไหว้ครูมีใช้ในหลายกิจกรรม เช่น การไหว้ครูในโรงเรียน


            


Every year a Wai Kru ceremony is held where the students pay respect 

to their teachers. Every student came to school with a bunch of flowers

for their teachers. The flowers used in the arrangement are symbolic. 

              

        Dok Ma Khue  (eggplant flower) stands for respect because when the 

tree is blooming its branches bend down in the same way a student  pays 

respect to their teacher. 

                

Ya Praek (Bermuda grass) stands for patience or perseverance  because 

although the grass looks wilted it is still very much alive. 

      

      Khao Tok (popped rice) stands for discipline because the rice is placed in 

a pan together and heated up to become popped rice. 


   

       The Dok Kem has the same name as the Thai word for needle. So it

  means the  student will be sharp-witted and brainy.


              


New Vocabulary

1. ceremony (n.) = พิธี

2. respect (v.) = เคารพ , ศรัทธา

3. bunch (n.) =  ช่อดอกไม้

4. arrangement (n.) = การจัด

5. symbolic (adj.) =  สัญญลักษณ์

6. eggplant (n.) = มะเขือ

                 

7. bloom (v.) = บาน

8. stand for (v.) = ใช้แทน

9. wilt (v.) = ร่วงโรย

10. alive (adj.) = มีชีวิต

            

11. sharp-witted  (adj.) = ปัญญาเฉียบแหลม

12. discipline (n.) = ระเบียบ  วินัย

13. patience (adj.) = อดทน

14. perseverance  (n.) = ความเพียร  อุตสาหะ


            

ในทุกทุกปี  พิธีไหว้ครูจะจัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนได้แสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ของ

พวกเขาทุกคน    โดยนักเรียนจะนำดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ ของการไหว้ครูคือ ดอกมะเขือ 

เป็นสัญลักษณ์ของความเคารพ ความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยธรรมชาติของต้นมะเขือ 

เมื่อมีดอกและจะออกผลจะโค้งลงเหมือนผู้อยู่ในอาการแสดงความเครพหรือ คารวะ 

หญ้าแพรก เป็นสัญลักษณ์ของความอดทนจะไม่ตายง่าย เจริญงอกงามได้รวดเร็วในทุกที่ 

                   

หากนักเรียนมีความอดทนที่จะเรียนรู้วิชาการต่างๆ ก็จะเก่งยิ่งขึ้น  สติปัญญาก็จะแตกฉาน 

ข้าวตอก เป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ 

เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้  ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูก

คั่วออกจากข้าวเปลือก และ ดอกเข็ม หมายถึงความฉลาดหลักแหลม  

อันเปรียบเสมือนเข็ม ที่มีความแหลมคม




 

พิธีไหว้ครูในโรงเรียน


โดยปรกติสถานศึกษามักจัดพิธีไหว้ครูขึ้นในวันพฤหัสบดีวันใดวันหนึ่ง

ในราวเดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน

             

 

ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู

ในพิธีไหว้ครูนับตั้งแต่สมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน 

ซึ่งดอกไม้ ความหมายในการระลึกคุณครู ได้แก่  

1. หญ้าแพรก สื่อถึง ขอให้เรียนได้เร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่โตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า
       อากาศ ทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือน คำดุด่าของครูบาอาจารย์  

2. ดอกเข็ม สื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนชื่อของดอกเข็ม  



              



3. ดอกมะเขือ สื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือนั้น จะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อจะออกลูก

 แสดงถึงนักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน 

เป็นคนสุภาพเรียบร้อย ดุจมะเขือที่โน้มลง  

4. ข้าวตอก เนื่องจากข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน

จนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน 

ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน 

 ซึ่งสามารถนำไปประกอบพิธีกรรม หรือทำขนมต่างๆได้

 


 ดังนั้น ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย 

หากใครสามารถทำตามกฎระเบียบ เอาชนะความซุกซนและความเกียจคร้านของตัวเองได้

ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก