ณ โรงเรียนธุรกิจ แห่งหนึ่ง ผู้เชี่ยวชาญเรื่องจัดการบริหารเวลาได้ตั้งปัญหาเชาว์
กับกลุ่มนักเรียนชั้นที่เก่งและมีคะแนนดี ในระหว่างชั่วโมงการเรียนการสอน
อาจารย์ได้หยิบขวดโหลขนาดบรรจุ 1 แกลอนมาวางไว้บนโต๊ะ และหยิบก้อนหิน
ขนาดเท่ากำปั้น 10 ก้อนมากองไว้แล้วนำใส่ขวดทีละก้อนอย่างระมัดระวัง
พอใส่จนเต็มอาจารย์ก็ถามว่า ขวดนี้เต็มหรือยัง นักเรียนในชั้นทุกคนตอบว่า
เต็มแล้ว แล้วอาจารย์ก็พูดว่า จริงเหรอ? แล้วก็หยิบถังใส่ก้อนกรวดจากใต้โต๊ะ
อีกตัว เขย่าขวดพร้อมกับใส่ก้อนกรวดลงไปในช่องทั้งซ้ายและขวาจนเต็ม
และถามกลุ่มนักเรียนอีกครั้ง เต็มขวดแล้วหรือยัง? นักเรียนคนหนึ่งตอบว่า
คิดว่าบางทีอาจจะยังไม่เต็มครับ อาจารย์บอกว่า ดีมาก พร้อมกับหยิบทราย
ออกมาจากถังข้างในอีกในครั้งนี้ แล้วค่อยใส่ทรายแทรกลงไปในช่องว่างของ
ก้อนหินกับก้อนกรวด ทีนี้ เต็มขวดแล้วหรือยัง? นักเรียนทุกคนในชั้นตอบว่ายัง
คราวนี้อาจารย์ตอบว่า ใช่ ถูกต้อง พร้อมกับหยิบเหยือกน้ำ แล้วเทน้ำใส่ลงไป
ในขวดจนเต็ม พอเทเสร็จ อาจารย์มองไปที่ทุกคนแล้วถามว่า เรื่องนี้สอนให้
รู้อะไร นักเรียนคนหนึ่งยกมือตอบว่า ตัวอย่างเช่นนี้หมายความว่า แม้ว่า
จะมีตารางเวลาที่แน่นมากเพียงใด ถ้าหากพยายามที่จะปรับประยุกต์แล้ว
เราก็สามารถที่จะจัดสรรตารางเวลาให้ลงตัวได้ อาจารย์บอกว่าไม่ใช่หรอกค่ะ
สิ่งที่ต้องการสอนในเรื่องนี้คือ ถ้าหากไม่ใส่หินก้อนใหญ่ในตอนแรกแล้วจะ
นำมาใส่ในภายหลังก็ไม่สามารถทำได้ สิ่งที่เป็นหินก้อนใหญ่ในชีวิตของคุณ
คืออะไร ลูกๆของคุณหรือเปล่า? คนรักของคุณใช่ไหม? หรือว่า การร่วมกิจกรรม
อาสาสมัคร? การได้สอนผู้อื่นหรือได้ช่วยเหลือผู้อื่น? การได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ?
เพื่อตัวคุณเอง, เพื่อสุขภาพ หรือว่ามีเวลาเพื่อได้ทำในสิ่งที่มีคุณค่า? ทุกๆคน
ถ้าคุณยังไม่ได้ใส่หินก้อนใหญ่ของคุณในตอนแรก อย่าลืมเรื่องที่ว่ามันไม่สามารถ
จะนำมาใส่ภายหลังได้อีก ถ้าหากคุณจะต้องเสียเหงื่อไปกับ
เรื่องที่ไม่สำคัญ (กรวด, ทราย) ในชีวิตของคุณก็จะเต็มไปด้วยเรื่องเล็กน้อย
ที่ไม่สำคัญ ถ้าหากเป็นเช่นนั้น คุณก็จะไม่สามารถใช้เวลากับเรื่องที่สำคัญสำหรับ
ตัวคุณเองหรือสิ่งที่คุณรักได้(หินก้อนใหญ่) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ คุณไม่สามารถ
ใช้เวลาที่มีค่าของคุณได้อย่างมีคุณภาพนั่นเอง คืนนี้...หรือว่าในตอนเช้า
หากสะกิดใจคิดเรื่องเล็กๆนี้ขึ้นมาได้อยากให้คุณลองถามตัวเองว่า......
อะไรคือหินก้อนใหญ่ในชีวิตของฉัน
“ What are the big rocks in my life? ”
From...Yazaki Philosophy
Translated by... Panaphun Pruksakorn
Translated by... Panaphun Pruksakorn
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น