พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
บัญญัติศัพท์ภาษาไทย คำว่า " ปรัชญา " มาจาก
ภาษาอังกฤษว่า " PHILOSOPHY "
คำว่า " ปรัชญา " มาจากภาษาสันสกฤต คือ .....
ปฺร แปลว่า ประเสริฐ
ชฺญา แปลว่า ความรู้
แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ
คำว่า " ปรัชญา " มาจากภาษาสันสกฤต คือ .....
ปฺร แปลว่า ประเสริฐ
ชฺญา แปลว่า ความรู้
แปลว่า ความรู้อันประเสริฐ
คำว่า " Philosophy " ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ว่า Philosophia คือ
Philos แปลว่า ความสงสัย ความสนใจ ความรัก
Sophia แปลว่า ความรู้
แปลว่า ความรักในความรู้ความอยากรู้
พจนานุกรมราชบัณฑิตสถาน "ปรัชญา" คือ
วิชาที่ว่าด้วยหลักแหล่งแห่งความรู้.
" ปรัชญา" หมายถึงหลักธรรมหรือหลักการ
" ปรัชญา" หมายถึงหลักธรรมหรือหลักการ
หลักแห่งความถูกต้องดีงาม
หลักที่ใช้ยึดถือสำหรับการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งเป็นคติ หรือข้อคิด
· ปรัชญาจากท่านขงเบ้ง
- เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต
- ถ้าคุณหัวเสีย คุณจะเสียหัว
- อย่าไล่สุนัขให้จนตรอก อย่าต้อนคนให้จนมุม
- อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย
- ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไร คุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น
- เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้แล้ว "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
- นกทำรังให้ดูไม้ ข้าเลือกนายให้ดูน้ำใจ
- ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น
- จริงคือลวง ลวงคือจริง ถ้าคุณคิดว่าข้าศึกมีทางเลือกเพียง 2 ทาง จงแน่ใจได้ว่าเขาจะเลือกทางที่ 3
- มังกรถ้าไร้หัว หางก็ตีกันเอง ถ้าคานบนเอน คานล่างก็เบี้ยว ถ้าเสาเอกเฉียง เสาโทก็เฉ
- คนมองไม่เห็นการณ์ไกล ภัยก็จะมาถึงตัว คนไม่รู้จักตัดไฟ ภัยก็จะน่ากลัว
- ยามเรืองรุ่งพุ่งเปรี้ยงดุจเสียงฟ้า แม้เทวายังสยบหลบทางให้ จะหยิบดาวเดือนชมก็สมใจ คงร้องให้วันหนึ่งแน่ คราวแพ้มี
- ไม้คดใช้ทำขอ เหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย
- เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิต จะไม่คิดได้อย่างไร
- เมื่อเสียหลักก็ต้องหลบอย่างฉลาด เมื่อพลั้งพลาดต้องรู้หลีกใส่ปลีกหาง ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆทำ ค่อยคลำทาง จึงจะย่างสู่จุดหมายเมื่อปลายมือ
- ปลาใหญ่มักตายน้ำตื้น
- เกียรติยศย่อมเกิดจากการกระทำที่สุจริต
- ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี
- เมื่อใครสักคนหนึ่ง ทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขา เพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับเขา ท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้
- การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น
- ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่
- ผู้ปกครองระดับกลาง ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่
- ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่
- อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่ หรือ อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"
- เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูต เพราะนักการทูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธ
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ"
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ" หล่อนมีความหมายว่า "ใช่ หรือ ได้"
- เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่ หรือ ได้" หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี
- คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย
- ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถ มองเห็นคิ้วของตน
- คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต
- อำนาจที่ปราศจากเหตุผล คือ อำนาจของคนพาล อำนาจที่ปราศจากความเมตตา คือ อำนาจที่นำมาซึ่งความปราชัย
- ตัดไผ่อย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าเหลือลูก คิดทำการใหญ่ ใจคอต้องเหี้ยมหาญ
- ข้าพเจ้ายอมทรยศต่อคนทั้งโลก ดีกว่าให้คนในโลกทรยศต่อข้าพเจ้า
- เป็นแม่ทัพแล้วไม่กล้าตัดหัวคน เป็นแม่ทัพที่ดีไม่ได้
- คนฉลาดปราดเปรื่อง เขานั่งนิ่งสงวนคม
- ไม่มีใครเลี้ยงอาหารใครเปล่า ๆ โดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน
- ศัตรูที่ร้ายเหลือ ไม่เท่าเกลือเป็นหนอน
- ความรู้ คือ อำนาจ
- นั่งภูดูเสือ กัดกัน
- เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือคนยังมียอดคน ฉะนั้นจึงอย่าประมาท
- ถ้าเป็นกษัตริย์ แล้ว ไม่โลภ ก็เป็นกษัตริย์ ที่ดีไม่ได้ ถ้าเป็นนักบวชแล้วโลภ ก็ เป็นนักบวช ที่ดีไม่ได้
- น้ำไหลลงสู่ที่ต่ำฉันใด เราก็กลายเป็นคนฉลาดในช่วงเวลาลำบากฉันนั้น
- ดวงอาทิตย์ทำให้ทุกสิ่งกระจ่างชัด แต่เรายังต้องทำความเข้าใจในส่วนที่มืด
- ซึ่งยังคง ดำรงอยู่
……………………………..
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น