วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Rose กุหลาบ


Rose



            

A rose  is a woody perennial of the genus Rosa
within the family Rosaceae. There are over 100 species. 
They form a group of erect shrubs, and climbing or 
trailing plants, with stems that are often armed 
with sharp prickles.

  

 Flowers are large and showy, in colours ranging 
from white through yellows and reds. Most species 
are native to Asia, with smaller numbers native to 
Europe, North America, and northwest Africa. 
Species, cultivars and hybrids are all widely grown 
for their beauty and fragrance.


                                    
Rose plants range in size from compact, 
miniature roses, to climbers that can reach 
7 meters in height. Different species hybridize easily, 
and this has been used in the development 
of the wide range of garden roses.[1]



            

The name rose comes from French, itself from
Latin rosa, which was perhaps borrowed from Oscan
from Greek ρόδον rhodon (Aeolic βρόδον wrodon),
related to Old Persian wrd-, Avestan varəda,  
Sogdian ward, Parthian wâr, Armenian vard.[2][3]


 กุหลาบ    


           
        เป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลาย
ทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย 
เป็นอันดับหนึ่งใน ตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ 
ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก 


เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก 
และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ 
เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ


     



    

   
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอก 
ประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ 
แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก 
นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี  

มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ  
จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง  
3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม 
พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ)




 การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น
2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ 
และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ 
หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ 
เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรค
และแมลง หรือการขนส่ง

    

 
อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้อง
อาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ 
ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ 
และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก 
ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลัง
การเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้
มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน


         
     

ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) 
ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก 
ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) 
ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง
ทำให้ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ 
และมาเลเซีย เป็นต้น

       


ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูง
อย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม
คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล  
หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น 
ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่
การผลิตบนที่สูงมากขึ้น


               





      





From :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น