Buddhajanti:
The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment)
พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า | |
---|---|
ชื่อ | งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า |
วันและเวลา | มาฆบูชา พ.ศ. 2555—31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 |
สถานที่ | ทั่วราชอาณาจักร |
ผู้จัด | รัฐบาลไทย คณะสงฆ์ไทย และพุทธศาสนิกชน |
โอกาส | การเฉลิมฉลองการครบรอบ 26 สัมพุทธศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสมเด็จพระบรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา |
เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555[3]
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา[4] พม่า และประเทศไทย[5] 1
โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ
มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น
การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม
เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี
แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)
ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555 [6]
ตราสัญลักษณ์
ประเทศไทย
การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้ เสนอรูปแบบพร้อมความหมายธงสัญลักษณ์แก่มหาเถรสมาคม และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้เป็นสัญลักษณ์การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้คณะสงฆ์ หน่วยงานทางราชการ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ใช้ประดับตกแต่ง ณ สถานที่ราชการ วัดและเคหสถานทั่วประเทศ ตั้งแต่ช่วงมาฆบูชาหรือช่วงเทศกาลวิสาขบูชา (วันที่ 29 พฤษภาคม 2555) เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2555 โดยธงสัญลักษณ์งานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี มีรูปแบบดังนี้- ธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงสีเหลือง
- มีรูปใบโพธิ์รอบธรรมจักร ในวงธรรมจักรเป็นสีธงฉัพพรรณรังสี
- รูปธรรมจักรมีซี่ จำนวน 12 ซี่ ซึ่งหมายถึง ญาณ 3 ในอริยสัจ 4
- มีชื่องานภาษาไทยด้านล่างใบโพธิ์ ส่วนชื่อภาษาอังกฤษจะอยู่รอบวงธรรมจักร หากใช้ประดับในต่างประเทศหรือสถานที่ระดับสากล สามารถสลับที่ระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น